ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อค

Unit 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน

การสื่อสาร
คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

1. ผู้ส่งสาร 
 2. ข่าวสาร 
 3. สื่อหรือช่องทางในการรับสาร 
 4. ผู้รับสาร 
รูปแบบของการสื่อสาร
·         โทรคมนาคม



ความสำคัญของการสื่อสาร 
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย
2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม    
3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม


องค์ประกอบของการสื่อสาร
·         องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้
1.  ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร
คุณสมบัติของผู้ส่งสาร

1.  เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ

2.  เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี          

3.  เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ  ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร

4.  เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร

5.  เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร 

2.  สาร (message) หมายถึง  เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์  
2.1  รหัสสาร (message code)
 2.2  เนื้อหาของสาร  (message content) 
2.3  การจัดสาร (message treatment) 
3.  สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร   ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร   


4.  ผู้รับสาร (receiver)  หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสาร   และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร  หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร   เช่น   ผู้เข้าร่วมประชุม   ผู้ฟังรายการวิทยุ   กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย  ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์  เป็นต้น
หลักในการสื่อสาร
การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร ดังนี้ 
1.  ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร
2.  ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร
3.  คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์
4.  การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง  ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
5.  ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง
6.  คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการ
สื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร
7.  คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้

     1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)               
     2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) 
    3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) 
    4.  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade)   
     5.  เพื่อเรียนรู้ (learn)  
      6.  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide)
อุปสรรคในการสื่อสาร

อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร   อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้


1.  อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
                  
                 1.1  ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
                 1.2  ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
                 1.3  ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
                 1.4  ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
                 1.5  ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
                 1.6  ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร



2.  อุปสรรคที่เกิดจากสาร

                
                  2.1  สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
                  2.2  สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
                  2.3  สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
                  2.4  สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน


3.  อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง

                
                 3.1  การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
                 3.2  การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
                 3.3  การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร


4.  อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร

               
                 4.1  ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
                 4.2  ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
                 4.  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
                 4.4  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
                 4.5  ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป 
ทฤษฎีการสื่อสาร

      ทฤษฎีการสื่อสารและการเรียนการสอน สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในกระบวนการสื่อสาร คือ การที่จะสื่อความหมายอย่างไรเพื่อให้ผู้รับสารนั้นเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าผู้ส่งหมายความว่าอะไรในข่าวสารนั้น

การสื่อสารเพื่อการสอน
แนวคิดเรื่องการการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
            
                  Wilkins (1976) ได้เสนอแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารไว้ว่าเป็นการให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารตั้งแต่เริ่มต้น แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยในเรื่องความสำคัญทางไวยากรณ์และสถานการณ์ในการใช้ภาษา การสอนภาษาตามแนวทางการสอนเพื่อการสื่อสารจะมีข้อดีกว่าแนวคิดการสอนที่เน้นไวยากรณ์คือ มีการฝึกฝนภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร และเมื่อผู้เรียนได้มีการฝึกฝนการใช้ภาษาได้ในสถานการณ์จริงแล้ว ยังช่วยให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้เรียนอีกด้วย
                 การสร้างความสามารถในการสื่อสาร (Communicative competence) ซึ่งเป็นเป้าหมายของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนี้ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทตามแนวคิดของ Savignon  ดังต่อไปนี้
1) ความสามารถด้านกฎเกณฑ์และโครงสร้างของภาษา
2) ความสามารถด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม
3) ความสามารถด้านความเข้าใจในระดับข้อความ
4) ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น