ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อค

Unit 6

หน่วยการเรียนที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน


เรื่อง m-Learning
พัฒนาการของ M-Learning
          ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ PDA และ Laptop computer ได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาแบบ e-Learning จึงกลายมาเป็น m-Learning หรือ mobile learning ในช่วงปี ค.ศ. 19952000 การศึกษาแบบ e-Learning โด่งดังเป็นอย่างมากไม่ว่าจะ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ นักการศึกษาบางท่านเห็นว่า e-Learning คงเป็นเทคโนโลยีสุดท้ายที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการศึกษาทางไกล แต่ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าส่งผลให้เกิดเทคโนโลยี
          การสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Network Technology) ขึ้น และได้เข้ามามีบทบาทและเติบโตอย่างมากในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา อุปกรณ์แบบไร้สายต่างๆ ได้เข้ามาแทนที่อุปกรณ์แบบมีสาย (wired) ที่ชัดเจนคือ โทรศัพท์มือถือ เมื่อมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ีแบบไร้สาย เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ก็ถูกพัฒนาตามขึ้นไปด้วย ซึ่งได้แก่ Bluetooth, WAP (Wireless Application Protocol), GRPS (General Packet Radio System) และ UMTS (Universal Mobile Telecommunications System) เมื่อเทคโนโลยี ได้ก้าวหน้าไป วิธีการศึกษาหาความรู้ก็ถูกพัฒนาตามไปด้วย m-Learning จึงเกิดขึ้น m-Learning ย่อมาจาก mobile learning ซึ่งเป็นการ พัฒนาอีกขั้นของ e-Learning เป็นการผสมผสานที่ลงตัวของการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย เทคโนโลยีที่กล่าวถึง นี้ก็คือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย เราเรียกการเรียนรูปแบบนี้ว่า Wireless Learning Mobile Learning หรือ m-Learning
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนแบบ M-Learning
          การจัดการเรียนการสอนแบบ m-Learning นั้น ผู้เรียนต้องใช้อุปกรณ์แบบติดตามตัวหรือเคลื่อนไปได้โดยสะดวก (mobile devices) ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทมีความสามารถ มีขนาดและราคาที่แตกต่างกันไป
          อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนแบบ M-Learning ได้ มีดังนี้
          1. Notebook computers  เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาได้ มีความสามารถเทียบเท่าหรือเหนือกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป (Desktop of Personal Computer) ปัจจุบันมีขนาดเล็กและสามารถพกพาได้โดยสะดวก แต่ราคายังค่อนข้างสูง

  2. Tablet PC  เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา มีความสามารถเหมือนกัน PC บางชนิดไม่มีแป้นพิมพ์แต่ใช้ซอฟต์แวร์ ประเภทรู้จำลายมือ ในการรับข้อมูล ยังมีราคาแพงอยู่มาก

          3.Personal Digital Assistant (PDA) เป็นอุปกรณ์พกพา เสมือนเป็นผู้ช่วยดิจิตอลส่วนตัวหน่วยประมวลผล มีความสามารถสูง จอภาพแสดงผลได้ถึง 65000 สีขึ้นไป สามารถประมวลผลไฟล์ประเภทมัลติมีเดียได้ทุกประเภท ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการมักใช้ Palm หรือ Microsoft Pocket PC มีซอฟต์แวร์ให้เลือกติดตั้งได้หลากหลาย
4. Cellular phones  เป็นอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์มือถือทั่วไป เน้นการใช้ข้อมูลประเภทเสียงและการรับส่งข้อความ (SMS) มีข้อจำกัดคือ มีหน่วยความจำน้อย อัตราการโอนถ่ายข้อมูลต่ำ ในรุ่นที่มีความสามารถ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน WAP (Wireless Application Protocol) หรือ GPRS (General Packet Radio Service)
  5. Smart Phones เป็นอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ความสามารถสูง รวมความสามารถของ PDA และCellular phones เข้าด้วยกัน อาจมีขนาดเล็กกว่า PDA และใหญ่กว่า Cellular phones ใช้ระบบปฏิบัติการ คือ Symbian หรือ Windows Mobile มีโปรแกรมประเภท Internet Browser ใช้เป็นอุปกรณ์ Multimedia สำหรับการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบข่ายงานของ M-Learning
ส่วนประกอบข่ายงานของ M-Learning ประกอบด้วย         
          1. ข้อมูลคำอธิบายต่าง ๆ เกี่ยวกับบทเรียน (context data) ได้แก่ คำอธิบายบทเรียน คู่มือการใช้งาน การช่วยเหลือ และข้อมูลที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้          
          2. เครื่องมือสนับสนุนที่ชาญฉลาด (intelligent support engine) ได้แก่ เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย รวมถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารและจัดการบทเรียน (mLMS) เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียน นำเสนอ จัดการ ติดต่อสื่อสาร ติดตามผล และประเมินผล รวมถึงอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนการสอนผ่านจอภาพของโทรศัพท์มือถือหรือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา ส่วนนี้จะทำงานสัมพันธ์กับ task model และ user model ที่ได้มีการออกแบบไว้ก่อนเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะนำเสนอให้กับผู้เรียน         
          3. หน่วยเก็บเนื้อหาบทเรียน (content repository) ได้แก่ ส่วนของเนื้อหาบทเรียน รวมทั้งแบบฝึกหัดแบบทดสอบ และส่วนข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นองค์ความรู้เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้เรียน         

          4. ส่วนของการติดต่อกับผู้เรียน (interface) ได้แก่ ส่วนของการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนผ่านแป้นพิมพ์และจอภาพของเครื่องสำหรับการเรียนการสอนในลักษณะของ E-Learning ส่วนที่ทำหน้าที่หลัก ในการบริหารและจัดการรวมทั้งการนำพา (tracking) ผู้เรียนตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มลงทะเบียนไปยังเป้าหมายปลายทางก็คือ LMS (learnig management system) ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของระบบการเรียนการสอนแบบ e-Learning ที่ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนแทนผู้สอนทั้งหมด ปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบ LMS ขึ้นมาเพื่อการพาณิชย์เป็นจำนวนมาก เช่น Lotus Learning Space WebCT Blackboard SAP TopClas และ Intralearn เป็นต้น
ระบบการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอน LMS ของ
e-learning ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้     
          1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ
          2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถ ใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media
             3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบ สามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
          4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้          
          5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูล บทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้ส่วนการเรียนการสอนในลักษณะของ m-Learning ก็มีระบบบริหาร และจัดการ บทเรียนเช่นกัน เรียกว่า mLMS (mobile LMS) หน้าที่หลัก ๆ ของ mLMS ก็คงไม่แตกต่างจาก LMS มากนักเพียงแต่การจัดการบทเรียนผ่าน โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาก็มีความซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากเป็นการจัดการกับข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบการ รักษา ความปลอดภัยของข้อมูลย่อมมีความซับซ้อนและยุ่งยากมากกว่า ปัจจุบันนี้กล่าวได้ว่าเป็นยุคบุกเบิกของ m-Learning ซึ่งก็ได้เริ่มมีการพัฒนา mLMS ขึ้นมาเพื่อการพาณิชย์เช่นกัน เช่น บริษัท WBT System แห่งไอร์แลนด์ ได้พัฒนาระบบ TopClass Mobile เพื่อใช้ในการบริหารและจัดการ บทเรียน m-learning นอกจากนี้ยังมี mLMS อื่น ๆ เช่น Mobile LMS ของบริษัท Meridian KSI เป็นต้น
          การจัดการเรียนการสอนผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่จึงมีบริบทที่แตกต่างไปจากการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไปอย่างแน่นอน เนื่องการจัดการเรียน การสอน ที่ต้องผ่านโทรศัพท์ เคลื่อนที่อาศัยเครื่องมือสำคัญคือตัวของโทรศัพท์ที่มีขนาดเล็กและมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ การจะเรียนรู้ ได้จาก โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็จะต้อง ขึ้นอยู่ กับคุณลักษณะของผู้เรียน ความชอบ หรือเคยใช้โทรศัพท์มือถือมาก่อนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่จะใช้ สถานที่ในการใช้และความ สะดวกของอุปกรณ์ (Martin, Andueza and Carro, 2006) จัดได้ว่าการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนหรือ เอ็มเลินนิ่ง m-learning เป็นส่วนหนึ่งของ e-Learning ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สนับสนุนการเรียนการสอนทางไกล นับเป็นแนวทางใหม่ ต่อการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับเป้าหมายตามแนวทางใหม่ ผู้เรียนมีอิสระเต็มที่ในการศึกษาบทเรียน ผ่านจอภาพของโทรศัพท์ มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์แบบพกพา
ข้อจำกัดข้อดีของ M-Learning
ข้อดีของ M-Learning

          1. การใช้ m-Learning สามารถใช้ได้ทุกสถานที่และทุกเวลา ถึงแม้สถานที่นั้น จะไม่มีสายสัญญาณให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เป็นการแก้ไขปัญหาในการเรียนแบบ Location Dependent Education
          2. อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อแบบไร้สายส่วนมาก มักมีราคาต่ำกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ และมีขนาด น้ำหนักน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป ทำให้สะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนสถานที่ใด เวลาใดก็ได้           
          3. จำนวนผู้ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่มีจำนวนมาก และใช้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน หากนำอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีไร้สาย มาใช้ในการจัดการเรียน การสอนก็จะเป็นการเพิ่มช่องทางและจำนวนผู้เรียนได้                    
          4. การเรียนในรูปแบบ m-Learning เป็นการเรียนรู้แบบเวลาจริง เนื้อหามีความยืดหยุ่นกว่าบทเรียนแบบ e-Learning ทำให้การเรียนรูได้รับข้อมูลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ดีกว่า e-Learning           
          5. ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ทันที เช่น การส่งข้อความ การส่งไฟล์รูปภาพ หรือแม้กระทั่งการสนทนา แบบเวลาจริง (Real time)           
          6. มีค่าใช้จ่ายโดยรวมถูกกว่าบทเรียนที่นำเสนอผ่านไมโครคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ข้อจำกัดของโทรศัพท์ เคลื่อนที่ ก็ยังคงมีอยู่บ้าง ซึ่ง แมคลีน (McLean, 2003) ได้กล่าวถึงอุปกรณ์สำคัญในการจัดทำโปรแกรมสำหรับการเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันอยู่บน พื้นฐานความสามารถของตัวเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เอง สามารถสรุปได้ดังนี้     

ข้อจำกัดของ M-Learning                       
          ข้อจำกัดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังคงมีอยู่บ้าง ซึ่ง แมคลีน (McLean, 2003) ได้กล่าวถึงอุปกรณ์สำคัญในการจัดทำโปรแกรม สำหรับ การเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ อันอยู่บนพื้นฐานความสามารถของตัวเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เอง สามารถสรุปได้ดังนี้
                       
          1. หน่วยความจำที่จำกัดและการติดตั้งโปรแกรมเป็นอุปสรรคหลัก อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ ส่วนมากมีขนาดหน่วยความจำมีความจุน้อยกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป ทำให้มีข้อจำกัดในการจัดเก็บไฟล์ประเภทมัลติมีเดีย
          2. จอภาพแสดงผลของอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะในโทรศัพท์มือถือ ทำให้ไม่สามารถแสดงข้อมูล สารสนเทศ ให้ผู้เรียน เห็นได้อย่างชัดเจน
          3. การเชื่อมต่อสัญญาณทำได้เป็นพัก ๆ ไม่สามารถติดต่อได้นาน เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีความเร็วต่ำ เป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนแบบ M-Learning เพราะไม่สามารถใช้สื่อประเภทมัลติมีเดียขนาดใหญ่
          4. การปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มอุปกรณ์ในอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ ทำได้ยากกว่าคอมพิวเตอร์
          5. การเชื่อมโยงระบบการจัดการเรียนการสอนหรือระบบการวางแผนยังเพิ่งเริ่มการพัฒนา
          6. การผลิตเพื่อนำไปใช้มักเกิดปัญหากับเจ้าของโปรแกรม
          7. การส่งข้อมูลข้ามระหว่างบราวเซอร์กับรูปแบบหน้าจอมือถือยังเป็นไปไม่ได้
          8. โปรแกรมที่มีอยู่ไม่ง่ายที่จะนำไปปรับใช้กับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่
          9. ต้นทุนเริ่มต้นในการผลิตยังมีมูลค่าสูง
          10. ช่องทางที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นไปได้ยาก
          11. การรักษาความปลอดภัยข้อมูลก็ยังมีปัญหาอยู่
          12. ค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูลในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังสูงอยู่   
          13. แบตเตอรี่หรือแหล่งจ่ายไฟของอุปกรณ์เคลื่อนที่มีระยะเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
          14. การอนุญาตหลายแบบต้องเจรจาเพื่อจะให้เข้าถึงข้อมูลได้
          15. การพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังมีอยู่ต่อเนื่องไม่คงที่และไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีการพัฒนาโปรแกรมไปสู่จุดใด      
         สถาปัตยกรรม M-learning
สถาปัตยกรรม M-learning
          รูปแบบสถาปัตยกรรมทั่วไปของกิจการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน (Trifonova and Ronchetti, 2004) ประกอบไปด้วย
            1. ส่วนที่เป็นอุปกรณ์โทรศัพท์ ในส่วนนี้จะหมายถึง โทรศัพท์มือถือจะต้องมีเว็บบราวเซอร์เพื่อทำหน้าที่ในการเปิด แสดงผลหน้าจอภาพ บนมือถือผ่านอินเตอร์เน็ต จะต้องมีบราวเซอร์ที่สามารถเชื่อมโยงโปรแกรมบนมือถือแบบไร้สาย (WAP: Wireless Application Protocol) และต้องมีโปรแกรมสำหรับจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่
            2. ส่วนที่เป็นระบบการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mLMS: Mobile Learning Management System) หมายถึง ระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยในส่วนนี้จะมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนด้วยกันคือ
                2.1 การจัดการเนื้อหาและปรับเปลี่ยนสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการจัดการเนื้อหา นำเสนอเนื้อหาผ่านหน้าจอ โทรศัพท์และนำส่งข้อมูลข่าวสารสำหรับการเรียนการสอน
                2.2 ส่วนประกอบและการกำหนดเวลาที่ตรงกันสำหรับการเรียนการสอน เป็นส่วนของระบบที่ทำหน้าที่จัดหาองค์ประกอบต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เช่น การแสดงภาพ การแสดงวีดีโอ การโหลดไฟล์เสียง โดยมุ่งให้จัดการเรียนการสอน ได้ตามเวลา จริงผ่านตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่
                2.3 ส่วนสภาพแวดล้อมและการค้นคว้าข้อมูล เป็นส่วนที่จัดสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้เหมาะสม โดยเน้นไปในเรื่องของการจัดการสำหรับโทรศัพท์ เช่น การแสดงผลหน้าจอภาพ แบตเตอรี่โทรศัพท์ เครือข่ายใช้งาน ช่องสัญญาณโทรศัพท์ และการจัดการค้นคว้าข้อมูล ช่องทางการเข้าสู่ข้อมูล เป็นต้น
            3.  ส่วนที่เป็นระบบการจัดการเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์ (eLMS: Electronic – Learning Management System) หมายถึงส่วนที่เป็นระบบการจัดการสำหรับการเรียนการสอนที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยจะแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ได้ 4 ชั้นได้แก่
                3.1 ชั้นที่เป็นหน้าจอภาพ เป็นส่วนที่แสดงผลของเนื้อหา สามารถสั่งงานหรือเลือกรายการในการเรียนรู้ได้โดยผู้เรียนโดยผ่านเว็บ
                3.2 ชั้นของการนำเสนอ เป็นชั้นที่ติดต่อระหว่างหน้าจอภาพกับส่วนที่เป็นโปรแกรมในการนำเสนอข้อมูลของระบบ เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ เป็นโปรแกรมเชื่อมต่อระหว่างหน้าจอภาพกับข้อมูลเนื้อหา
                3.3 ชั้นของการจัดการ เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ในการจัดการเนื้อหาข้อมูลต่าง ๆ ที่จะไปนำเสนอในชั้นหน้าจอภาพ โดยในชั้นนี้จะทำหน้าที่ ในการบริหารจัดการเนื้อหาให้เป็นระบบ จัดการติดต่อระหว่างผู้ใช้โปรแกรมกับข้อมูล จัดการเกี่ยวกับรายละเอียดการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้งาน รายงานประวัติการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ จัดทำรายการในรูปของดัชนีชี้เข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ และบริหารจัดการรายละเอียดทั่วไปของเนื้อหา
                3.4 ชั้นติดตั้งข้อมูล เป็นชั้นที่จัดทำเป็นฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการจัดเก็บเนื้อหาของระบบการจัดการเรียนรู้ โดยจัดเก็บในรูปของไฟล์ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลหลัก ๆ ได้แก่ การจัดเก็บฐานข้อมูลของเนื้อหาสำหรับการเรียนเป็นเรื่อง ๆ หรือการจัดเก็บเป็นชิ้น (Learning Object: LO) ซึ่งสามารถเก็บเป็นเรื่อง ๆ กี่เรื่องก็ได้ รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลสำหรับติดต่อกับผู้เรียน และข้อมูลโดยรวมทั้งหมดของระบบ
          ในปัจจุบันวิธีการศึกษาแบบ M-Learning นั้นยังไม่ปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก คงเห็นเพียงแต่การวิจัยของถาบันการศึกษา และบริษัทที่ให้บริการด้านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ERICSSON และ NKI Distance Education หรือ NKI อินเทอร์เน็ต College ประเทศนอร์เวย์ เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนแบบทางไกลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมมือกัน เพื่อทำการศึกษาและวิจัยเรื่อง m-learning ว่ารูปแบบวิธีการเรียนจะเป็นอย่างไรโดยผ่านอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ





                       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น