ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อค

Unit 4

หน่วยการเรียนที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน

จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมายและความเป็นมาของจิตวิทยา
วิชาจิตวิทยากำเนิดเริ่มต้นมาจากต่างประเทศเมื่อหลายปีมาแล้ว คำว่าจิตวิทยา Psychology มีรากศัพท์มาจาก

Psyche - - - - - - - Psycho = วิญญาณ (Soul)
Logos - - - - - - - - logy = การศึกษา Psycho + logy - - - - - - - - Psychology

จึงหมายถึง วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต
สาขาของจิตวิทยา
1.             จิตวิทยาสังคม (Social Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ หรือกับสังคม
2.             จิตวิทยาพัฒนาการ ( Developmental )เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3.             จิตวิทยาการเรียนการสอน ( Psychology in Teaching and Learning ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเรียนการสอนและสิ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลได้เกิดการเรียนรู้
4.             จิตวิทยาคลีนิค ( Clinical Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมผิดปกติของมนุษย์ และวิธิการบำบัดรักษา
5.             จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning ) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
6.             จิตวิทยาประยุกต์ ( Applied Psychology ) เป็นการนำหลักการต่าง ๆ ทางจิตวิทยามาใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เช่น ธุรกิจ อุตสาหกรรม การเมือง การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ
7.             จิตวิทยาทั่วไป ( General Psychology ) เป็นการนำเอาหลักทั่วไป ทางจิตวิทยาไปใช้เป็น พื้นฐานทางการศึกษา จิตวิทยาสาขาอื่น ๆ และในการประกอบอาชีพทั่ว ๆ ไป หรือใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
จิตวิทยาการศึกษา ( Education Psychology) วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถของผูเรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี


จิตวิทยาการศึกษา ความมุ่งหมายและประโยชน์ มีดังนี้
1.             จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ 
2.             ด้านการเรียนการสอน
3.             ด้านสังคม
  1. ปกครองและการแนะแนว

แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มโครงสร้างจิต (Structuralism)
- วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt)
- ทิชเชนเนอร์ (Titchener)
เฟชเนอร์ ( Fechner)
วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt) เป็นคนแรกที่ตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้น ที่เมือง ไลป์ซิก เป็นการเริ่มต้นการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการวิทยาศาสตร์ จึงได้ชื่อว่าบิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง Wundt เชื่อว่าจิตมนุษย์ประขึ้นด้วยลักษณะเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า จิตธาตุ (Mental element) 2 ส่วน คือ
การสัมผัส (Sensation)
ความรู้สึก (Feeling) ต่อมา ทิชเชนเนอร์ (Titchener)ได้เพิ่มโครงสร้างจิตอีก 1 ส่วน คือ
จิตนาการ (Image)
กลุ่มโครงสร้างจิตจะวัดและบันทึกกระบวนการต่าง ๆ โดยวิธีที่เรียกว่า Introspection (การสังเกตพฤติกรรมที่เกิดกับตนเอง แล้วอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาของตนต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทางประสาทสัมผัส ศึกษาจิตสำนึก (Consciousness)
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา จิตของคนแยกเป็นส่วน ๆ ทำให้เกิดแนวคิดว่า ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ส่วนไหนมีความสามารถหรือทักษะด้านใด ก็ฝึกส่วนนั้นมากเป็นพิเศษ เช่น ครูต้องการให้นักเรียนผู้นั้นมีความจำ ก็ให้ผู้เรียนเรียนสิ่งที่ต้องอาศัยความจำ
2. กลุ่มหน้าที่จิต (Functionalism)
- จอน์ ดิวอี้ (John Dewey)
- วิลเลียม เจมส์ (Williaam James)
- วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH)
จอน์ ดิวอี้ (John Dewey) มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ (Learning by doing) ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัวของมนุษย์
วิลเลียม เจมส์ (Williaam James) สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา วิธีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์มากที่สุด วิธีการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา
3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behavior) - วัตสัน (John B.Watson)
- พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov)
ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike)
- ฮัล (Clark L.Hull)
- โทลแมน (Edward C.Tolman)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ศึกษาเฉพาะ พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ สาเหตุมาจากสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมา เรียกว่าการตอบสนอง(Respones)
4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) - ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
- แอดเลอร์ (Alfred Adler)
- จุง (Carl G.Jung)
ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งลักษณะจิตเป็น 3 ส่วน
จิตสำนึก (Conscious) แสดงความรู้ตังตลอดเวลา
จิตใต้สำนึก (Subconscious) รู้ตัวตลอดเวลาแต่ไม่แสดงออกในขณะนั้น
จิตไร้สำนึก (Unconscious)
5. กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
- เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer)
- คอฟกา (Kurt Kofga)
- เลอวิน (Kurt Lewin)
- โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)
6. กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
- คาร์ล โรเจอร์ (Carl R.Rogers)
- มาสโลว์ (Abrahaham H. Maslow)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory lening)
การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้านดังนี้ (ตามหลัก Bloom)
พฤติกรรมด้านสมอง (Cognitive Domain) ได้แก่ ความรู้ จำ ความเข้าใจ
พฤติกรรมด้านจิตใจ (Affective Domain) ได้แก่ อารมณ์ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ
พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท
กฎการเรียนรู้ของกลุ่ม กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
การเรียนรู้เรียนที่เน้นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ
การรับรู้ (Perception) การแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัส 5 ส่วน หู- ตา จมูก ลิ้น กาย
การหยั่งเห็น (Insight) การเกิดความคิดขึ้นมาทันทีทันใดในขณะประสบปัญหา โดยการมองเห็นปัญหาตั้งแต่เริ่มแรก จนแก้ปัญหาได้
องค์ประกอบที่ทำให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน
วุฒิภาวะ (Maturity) การเจริญทั้งร่างกาย จิตใจ
ประสบการณ์เดิม (Experience)
มาสโลว์ (Maslor) ความต้องการของมนุษย์แบ่งได้ 5 ขั้น
ความต้องการทางร่างกาย หิว กระหาย เพศ
ความต้องการทางความปลอดภัย
ความต้องการทางความรัก
ความต้องการทางเกียรติ ชื่อเสียง
ความต้องการในการยอมรับความสามารถ
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
๑.   ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์  ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ 
๒.   ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
๓.   ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว  ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)
            B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior)  สกินเนอร์ได้แบ่ง    พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ ๒  แบบ  คือ
            ๑.   Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ   หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน  (Reflex)  ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ 
            ๒.   Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด  หรือเลือกที่จะแสดงออกมา  สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ   คือ การเสริมแรง  หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
                ๑.   การเสริมแรง   และ   การลงโทษ
๒.  การปรับพฤติกรรม   และ  การแต่งพฤติกรรม
๓.  การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
         
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์    (Thorndike's  Connectionism Theory)
นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็น"บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา" เขาเชื่อว่า "คนเราจะเลือกทำในสิ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่พึงพอใจ"  จากการทดลองกับแมวเขาสรุปหลักการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก (Trial and Error)  นอกจากนี้เขายังให้ความสำคัญกับการเสริมแรงว่าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
๑.   กฎแห่งผล (Law of Effect) มีใจความสำคัญคือ ผลแห่งปฏิกิริยาตอบสนองใดที่เป็นที่น่าพอใจ  อินทรีย์ย่อมกระทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีกและผลของปฏิกิริยาใดไม่เป็นที่พอใจบุคคลจะหลีกเลี่ยงไม่ทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีก
๒.  กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) มีใจความสำคัญ ๓ ประเด็น คือ
๓.  กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)  มีใจความสำคัญคือ พฤติกรรมใดที่ได้มีโอกาสกระทำซ้ำบ่อยๆ และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ  ย่อมก่อให้เกิดความคล่องแคล่วชำนิชำนาญ  สิ่งใดที่ทอดทิ้งไปนานย่อมกระทำได้ไม่ดีเหมือนเดิมหรืออาจทำให้ลืมได้
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑.  การสอนในชั้นเรียนครูควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
๒.  ก่อนเริ่มสอนผู้เรียนควรมีความพร้อมที่จะเรียน  
๓.  ครูควรจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนและทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว แต่ไม่ควรให้ทำซ้ำซากจนเกิดความเมื่อยล้าและเบื่อหน่าย
๔.  ครูควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพึงพอใจและรู้สึกประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม  
ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่องของกัทรี  (Guthrie's Contiguity Theory)
Edwin R. Guthrie   นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  เป็นผู้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของความใกล้ชิดต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ถ้ามีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและแนบแน่นเพียงครั้งเดียวก็สามารถเกิดการเรียนรู้ได้  (One Trial Learning ) เช่น ประสบการณ์ชีวิตที่วิกฤตหรือรุนแรงบางอย่าง  ได้แก่  การประสบอุบัติเหตุที่รุนแรง การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก  ฯลฯ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้ความเข้าใจ 
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง   นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า  พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง   ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight)  คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยการจัดระบบการรับรู้แล้วเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยได้อีกดังนี้
๑.   ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์  (Gestalt's Theory)
๒.   ทฤษฎีสนามของเลวิน ( Lewin's Field Theory)
ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์   (Gestalt's  Theory)
นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์  (Gestalt Psychology) ชาวเยอรมัน ประกอบด้วย   Max   Wertheimer,  Wolfgang  Kohler และ Kurt  Koftka  ซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับการรับรู้ (Perception ) การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่  นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหา (Insight)
องค์ประกอบของการเรียนรู้  มี   ๒  ส่วน   คือ
๑.   การรับรู้  (Perception
๒.   การหยั่งเห็น (Insight)
ทฤษฎีสนามของเลวิน   (Lewin's Field Theory)                                                                                     
                                Kurt Lewin  นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน เขาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์แสดงออกมาอย่างมีพลังและทิศทาง  (Field of Force)   สิ่งที่อยู่ในความสนใจและต้องการจะมีพลังเป็นบวก  ซึ่งเขาเรียกว่า Life space   สิ่งใดที่อยู่นอกเหนือความสนใจจะมีพลังเป็นลบ
Lewin    กำหนดว่า  สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์    จะมี  ๒  ชนิด  คือ
๑.    สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  (Physical   environment)
๒.    สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา  (Psychological environment
Life space ของบุคคลเป็นสิ่งเฉพาะตัว ความสำคัญที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน  คือ  ครูต้องหาวิธีทำให้ตัวครูเข้าไปอยู่ใน  Life space  ของผู้เรียนให้ได้
การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้  ความเข้าใจ  ไปประยุกต์ใช้
๑.   ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง  และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด 
๒.   เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน   
๓.   การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน   เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
๔.   คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน 
๕.   บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด 
ทฤษฎีปัญญาสังคม (Social Learning Theory)
Albert  Bandura  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง  เดิมใช้ชื่อว่า  "ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม" (Social Learning Theory)  ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อทฤษฎีเพื่อความเหมาะสมเป็น  "ทฤษฎีปัญญาสังคม"
ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต
๑.  ขั้นให้ความสนใจ  (Attention Phase
๒. ขั้นจำ  (Retention Phase)
๓.  ขั้นปฏิบัติ (Reproduction Phase
๔.  ขั้นจูงใจ (Motivation Phase
หลักพื้นฐานของทฤษฎีปัญญาสังคม มี  ๓  ประการ  คือ
๑.  กระบวนการเรียนรู้ต้องอาศัยทั้งกระบวนการทางปัญญา และทักษะการตัดสินใจของผู้เรียน
๒.  การเรียนรู้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ  ๓  ประการ  ระหว่าง ตัวบุคคล (Person)  สิ่งแวดล้อม (Environment)  และพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีอิทธิพลต่อกันและกัน
๓.  ผลของการเรียนรู้กับการแสดงออกอาจจะแตกต่างกัน สิ่งที่เรียนรู้แล้วอาจไม่มีการแสดงออกก็ได้
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑.  ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด  การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ  แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม
๒.  การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของทฤษฎีปัญญาสังคมทั้งสิ้น       ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น 
๓.  ตัวแบบในชั้นเรียนไม่ควรจำกัดไว้ที่ครูเท่านั้น ควรใช้ผู้เรียนด้วยกันเป็นตัวแบบได้ในบางกรณี       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น